วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

แผนการจัดการเรียนรู้ที่

                                                                              แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ 
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การวัด                                                                                                เวลาเรียน ๑๐ ชั่วโมง
เรื่อง การวัดความยาว                                                                                                                    เวลาเรียน ๑ ชั่วโมง 
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
สาระที่ ๒ การวัด
                มาตรฐานการเรียนรู้
                                มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
                ตัวชี้วัด
                                ค ๒.๑ ม. ๒/๑ เปรียบเทียบหน่วยความยาว หน่วยพื้นที่ ในระบบเดียวกัน และต่างระบบ
          และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
                                ค ๒.๑ ม. ๒/๒ คาดคะเนเวลา ระยาทาง พื้นที่ ปริมาตรและน้ำหนักได้อย่างใกล้เคียง และ
           อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน
                                ค ๒.๑ ม. ๒/๓ ใช้การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
สาระที่ ๖ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                มาตรฐานการเรียนรู้
                                มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                ตัวชี้วัด
                                ค ๖.๑ ม.๒/๑ ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
                                ค ๖.๑ ม.๒/๒ ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการ
          แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                                ค ๖.๑ ม.๒/๓ ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
                                ค ๖.๑ ม.๒/๔ ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
         และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
                                ค ๖.๑ ม.๒/๕ เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ กระบวนการ
         ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
                                ค ๖.๑ ม.๒/๖ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สาระสำคัญ
                หน่วยการวัดความยาวที่นิยมใช้กันในประเทศไทย คือ หน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก ระบบอังกฤษ และมาตราไทย
                                หน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก
                                                ๑๐     มิลลิเมตร                  เท่ากับ    ๑ เซนติเมตร
                                                ๑๐๐   เซนติเมตร                เท่ากับ    ๑ เมตร
                                                ๑๐๐๐ เมตร                      เท่ากับ ๑ กิโลเมตร
                                หน่วยการวัดความยาวในระบบอังกฤษ
                                                ๑๒     นิ้ว                            เท่ากับ   ๑ ฟุต
                                                        ฟุต                       เท่ากับ     หลา
                                                ๑๗๖๐ หลา                        เท่ากับ     ไมล์
                                หน่วยการวัดความยาวในมาตราไทย
                                                ๑๒     นิ้ว                          เท่ากับ                 คืบ
                                                        คืบ                         เท่ากับ      ศอก
                                                        ศอก                       เท่ากับ      วา
                                                ๒๐     วา                           เท่ากับ       เส้น
                                                ๔๐๐   เส้น                        เท่ากับ       โยชน์
                                กำหนดการเทียบ   ๑ วา                 เท่ากับ       เมตร
จุดประสงค์การเรียนรู้
                ๑. อธิบายหน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก ระบบอังกฤษ และมาตราไทยได้ ( K )
                ๒. วัด และเปรียบเทียบความยาวของสิ่งของได้ ( P )
                ๓. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของหน่วยการวัดในระบบต่างๆ ( A )               
สาระการเรียนรู้
                ๑. หน่วยการวัดความยาว
                ๒. การเปลี่ยนหน่วยการวัดความยาวในระบบเดียวกันและต่างระบบกัน
                ๓. การคาดคะเนความยาว

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการคิด 
ความสามารถในการแก้ปัญหา 
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีวินัย 
ใฝ่เรียนรู้ 
มุ่งมั่นในการทำงาน 
กิจกรรมการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก)
ขั้นนำ
              ครูผู้สอนพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับการวัดและหน่วยการวัด ที่นักเรียนรู้จักในชีวิตประจำวัและให้นักเรียนลองยกตัวอย่างเกี่ยวกับการวัด เช่น  ความสูงของตึก ใช้หน่วยเป็นฟุต  ความยาวของถนน ใช้หน่วยเป็นกิโลเมตร  ฯลฯ  
ขั้นการเรียนรู้

               ครูผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับการวัด  หน่วยการวัดในระบบและตามมาตราการวัดของไทย และให้นักเรียนดูสื่อวีดีโอ (CAI) เกี่ยวกับเรื่อง การวัด 
ขั้นสรุป

               ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการดูสื่อวีดีโอ (CAI) เกี่ยวกับการวัด  และให้นักเรียนทำงานใบกิจกรรมที่แจกให้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๒. สื่อวีดีโอ(CAI) เกี่ยวกับเรื่อง การวัด
๓.ใบกิจกรรม
การวัดและประเมินผล
  ๑. เกณฑ์การวัดผล
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิธีการวัด
เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
เกณฑ์ในการประเมิน
    ๑.อธิบายหน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก ระบบอังกฤษ และมาตราไทยได้
 การทำ
ใบกิจกรรม
ใบกิจกรรม
๘๐ ขึ้นไป
     ๒. วัด และเปรียบเทียบความยาวของสิ่งของได้
 การทำ
ใบกิจกรรม
ใบกิจกรรม เรื่อง
๙๐ ขึ้นไป
    ๓. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของหน่วยการวัดในระบบต่างๆ
การสังเกต
ส่งงานครบ ตรงต่อเวลา
การเข้าชั้นเรียน
๘๐ ขึ้นไป


๒.เกณฑ์การประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์   
       
ประเด็นการประเมิน
ระดับคะแนน
น้ำ
หนัก
คะแนนรวม
มีวินัย 
ปฏิบัติตามข้อตกลงตามเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ ตรงต่อเวลา ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงานของตนเอง
ปฏิบัติตามข้อตกลงตามเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ ตรงต่อเวลา ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน แต่ต้องมีการเตือนเป็นบางครั้ง
ปฏิบัติตามข้อตกลงตามเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ ตรงต่อเวลา ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน แต่ต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่
ปฏิบัติตามข้อตกลงตามเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ ตรงต่อเวลา ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
 
 ๒๘
ใฝ่เรียนรู้ 
มีการวิเคราะห์งาน วางแผนในการทำงาน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ มีการประเมินผลในการทำงาน และนำผลจากการประเมินไปแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาให้สมบูรณ์
มีการวิเคราะห์งาน วางแผนในการทำงาน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ มีการประเมินผลในการทำงาน
มีการวิเคราะห์งาน วางแผนในการทำงาน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
มีการวิเคราะห์งาน วางแผนในการทำงาน แต่ไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
 
 ๒๘
มุ่งมั่นในการทำงาน 
ตั้งใจทำงานด้วยความขยัน อดทน งานสำเร็จตามเป้าหมาย และเป็นแบบอย่างได้
ตั้งใจรับผิดชอบในการทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย
รับผิดชอบต่องานได้รับมอบหมาย
ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
 
 ๒๔

เกณฑ์การตัดสิน
                คะแนน      ๖๕ ๘๐   หมายถึง   ดีมาก                     คะแนน      ๕๐ ๖๔    หมายถึง   ดี
คะแนน       ๓๕๔๙  หมายถึง   พอใช้                     คะแนน      ๒๐ ๓๔   หมายถึง   ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่านตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่

                                                                              แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสต...