วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้ รูปแบบการสอน และเทคนิคการสอน


การจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning)นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สิริอร  วิชชาวุธ (2554:2)  ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1. มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจากไม่รู้ เป็นรู้  ทำไม่ได้ เป็นได้  ไม่เคยทำ เป็นทำ
2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวร
3.   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น  เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด
จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคล  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต  ทั้งจากการฝึกฝน  การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น
แนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ เบญจมิน บลูม (Bloom Taxonomy)
อติญาน์ ศรเกษตริน (2543 : 72-74 อ้างในบุญชม ศรีสะอาด 2537 :Bloom : 18)ได้กล่าวว่า จุดประสงค์สำคัญของการเรียนการสอน คือการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์พฤติกรรมเหล่านี้จำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่และระดับความยากง่าย หมวดหมูเหล่านี้เรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาของ บลูม (Taxonomy of Educational objective) : ซึ่ง Benjamin Bloom (Bloom.1976) ได้แบ่งเป็น 3 หมวดดังนี้
1.  พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
o    ความสามารถในการจดจำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา ( Knowledge)
o    ความสามารถในการแปลความ ขยายความ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา  (Comprehensive)
o    ความสามารถในการสิ่งที่เรียนรู้มาให้เกิดประโยชน์ ( Application)
o    ความสามารถในการแยกแยะความรู้ออกเป็นส่วนๆและทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์
หรือต่างกันอย่างไร ( Analysis)
o    ความสามารถในการรวบรวมความรู้ต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆให้เกิดเป็นสิ่งใหม่(Synthesis)
o    ความสามารถในการตัดสินคุณค่าของความรู้อย่างเป็นเหตุเป็นผล (Evaluation)
ต่อมา Anderson and Krathwont (2001) ซึ่งเป็นกลุ่มลูกศิษย์ของ Bloom  ได้ปรับปรุง พัฒนาให้เหมาะสม  โดยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนพฤติกรรมพุทธพิสัยดังนี้
o    ขั้นความรู้ความจำ  เปลี่ยนเป็น จำ
o    ขั้นความเข้าใจ เปลี่ยนเป็น  เข้าใจ
o    ขั้นการนำไปใช้ เปลี่ยนเป็น ประยุกต์
o    ขั้นการวิเคราะห์ เปลี่ยนเป็น วิเคราะห์
o    ขั้นการสังเคราะห์ เปลี่ยนเป็น ประเมินค่า
o    ขั้นการประเมินค่า เปลี่ยนเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์
2.  พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับ ดังนี้
o    ความตั้งใจ สนใจในสิ่งเร้า หรือ รับรู้ (Receive)
o    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือตอบสนองสิ่งเร้า (Respond)
o    ความรู้สึกซาบซึ้งยินดี มีเจตคติที่ดี หรือค่านิยม  (Value)
o    เห็นความแตกต่างในคุณค่า  แก้ไขข้อบกพร่อง/ขัดแย้ง  สร้างปรัชญา/เป้าหมายให้แก่ตนเอง  หรือการจัดระบบ  (Organize)
o    ทำให้เกิดเป็นคุณลักษณะหนึ่งของชีวิตตนเองหรือ บุคลิกภาพ (Characterize)
3.  พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับดังนี้
o    ความสามารถในการสังเกตและรับรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ  หรือขั้นรับรู้ (Imitation)
o    ความสามารถในการทำตามขั้นตอนหรือรูปแบบ  ที่ได้รับการแนะนำ (Manipulation)
o    ความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องมีผู้ชี้แนะและพัฒนาการทำงานด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Precision)
o    ความสามารถในการเลือกรูปแบบที่ตนเองพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ  และฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่วเป็นอัตโนมัติชัดเจนต่อเนื่องจน ชำนาญการ (Articulation)
o    ความสามารถที่เกิดจากการฝึกฝนจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญในงานนั้นเป็นการเฉพาะและเป็นธรรมชาติ ขั้น เชี่ยวชาญ (Naturalization)
การจัดการเรียนรู้ (Learning Management)
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
  • สุมน อมรวิวัฒน์ 2533:460) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้คือสถานการณ์อย่างหนึ่งที่มีสิ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น ได้แก่
1.มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้น  ระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนกับสิ่งแวดล้อม
2. ความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ก่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่
3.ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่นั้นไปใช้ได้
  • วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์ (2542 :255) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีระบบระเบียบคลอบคลุมการคำเนินการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดการเรียนรู้ จนถึงการประเมินผล
  • ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144) อธิบายความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่าหมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ และมีความผาสุขดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่างๆ 4 ด้านดังนี้
          1.การจัดการหลักสูตร(Curriculum)
          2.การจัดการเรียนการสอน(Instruction)3. การวัดผล(Measuring)4.การประเมินผลการเรียนรู้(Evaluation)หลังการเรียนการสอน
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
  • ผู้สอน จำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียน
2.บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน บรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน
  • ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน
บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
บรรยากาศใฝ่รู้ใฝ่เรียนถือเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาที่สำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนต้องมีทักษะ ประสบการณ์และจิตวิทยาในการสร้างบรรยากาศดังกล่าวได้โดยเลือก รูปแบบ (Model) วิธีการ (Innovation) เครื่องมือ (Media) ตลอดจนเทคโนโลยี(Technology) เพิ่มเสริมสร้างบรรยากาศที่เร้าให้ผู้เรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มากยิ่งขึ้น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในห้องเรียน ครูผู้สอนควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกกลุ่มที่มีศักยภาพแตกต่างกัน ด้วยความเอื้ออาทรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน ที่จะก้าวอย่างมั่นคงเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลให้สูงยิ่งขึ้น และอย่าลืมว่า
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพต่ำต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้สอนและเพื่อนนักเรียนในการเรียนรู้ให้ประสพผลสำเร็จ
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพปานกลาง ต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองภายใต้การประคับประคองและให้กำลังใจของครู
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จากครูผู้สอน ให้โอกาส ผู้เรียนใช้ความฝัน จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้
หลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถหลายอย่างในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนี้
  • หลักการรู้จักผู้เรียน ถือเป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องสามารถวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนได้ว่าเป็นอย่างไร มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างไร มากน้อยเพียงใด ปกติสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มสติปัญญาค่อนข้างอ่อน/เรียนรู้ช้า กลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือสอนจากครูอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึงจะเรียนรู้สำเร็จเป้าหมายการเรียนรู้เพียงช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่นในการดำรงชีวิต
2.กลุ่มสติปัญญาปานกลาง กลุ่มนี้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องได้รับคำชี้แนะ รูปแบบ วิธีการ จากครูผู้สอนภายใต้การให้กำลังใจการเรียนรู้จึงจะประสพผลสำเร็จ ความต้องการเรียนรู้เพื่อ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและเอื้อแก่ผู้อื่นรอบข้างได้
3.กลุ่มสติปัญญาสูง กลุ่มนี้เป็นความหวังของสังคมประเทศชาติในการช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพในอนาคต กลุ่มนี้มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยต่อยอดจากการเรียนรู้จากครูแต่ต้องการความเป็นอิสระในการเรียนรู้ การใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จินตนาการ ฉะนั้นจึงต้องการโอกาสและการให้ความสะดวกในการเรียนรู้อย่างหลากหลายรูปแบบไม่มีขีดจำกัด กลุ่มนี้มีเป้าหมายการเรียนที่ทำให้เกิดประโยชน์กับตนเองแล้วยังเพื่อผู้อื่นประเทศชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อม ใช้องค์ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นความหวังของทุกสังคม
  • หลักการวางแผนและเตรียมจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนแต่ละศักยภาพ ทั้งนี้กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องต่อการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มผู้เรียน เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วย
  • หลักการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ การจะจัดการเรียนรู้อย่างไรกับกลุ่มผู้เรียนใด ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีสมอง จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา เพื่อประกอบการตัดสิ้นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  • หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การที่ครูผู้สอนจะเลือกรูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รูปแบบใด ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวัดและประเมินผลว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น
1. ต้องการวัดองค์ความรู้และทักษะปฏิบัติเบื้องต้นว่ามีเท่าใด ควรใช้รูปแบบการวัด (Test)
2.ต้องการรู้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยแค่ไหนจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้การประเมิน(Assessment) เทียบกับเกณฑ์ทีกำหนด
3. ต้องการทราบว่าผู้เรียนได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จนเกิดประโยชน์ด้วยการประเมินแบบมีส่วนร่วมจากการยอมรับ ชื่นชมและให้รางวัล
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ 3 รูปแบบดังนี้
1.  การถ่ายทอดความรู้ (Transmission Approach) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กันมานานเป้าหมายเพื่อสืบทอดความรู้ อารยะธรรม วัฒนธรรมประเพณี ทักษะฝีมือเพื่อให้คงอยู่ต่อไป ประกอบกับต้องการกำลังคนในระบบอุตสาหกรรมจึงเน้นความเก่ง คนเก่ง การถ่ายทอดใช้รูปแบบวิธีสอน (Teaching) การฝึกฝน (train) การกล่อมเกลาให้เกิดศรัทธาและเชื่อฟัง(Tame) ครูจะเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้ (Teacher Centered Development) สำนักไหน โรงเรียนไหน หรือครูคนไหนเก่ง นักเรียนจะหลั่งไหลไปเรียน เกิดการแข่งขันการเข้าเรียนในโรงเรียนดัง เป็นค่านิยมของสังคมมานาน
2. การสร้างองค์ความรู้ (Trans formational Approach) หรือ (Constructionist) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าจะยกระดับศักยภาพของประชาชนให้พึ่งพาตนเองได้หลังจากที่พึ่งพาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าของกิจการ รัฐบาล ฯลฯ มานานจนเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน การว่างงาน เกิดปัญหาสุขภาพ ฯลฯ โดยพยายามจะให้ผู้เรียนลดการเรียนรู้ที่ต้องพึงพาครู โรงเรียน หรือสถาบันไปสู่การพึ่งพาตนเองในการแสวงหาความรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่าน สื่อ (Media) นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี ( Technology)การเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง ภายใต้การอำนวยความสะดวกของครูผ่านสื่อและนวัตกรรมแต่อำนาจการจัดการยังเป็นอำนาจของครูแต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมมากขึ้น
3. การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สู่ปัญญาภิวัฒน์ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย (Transactional Approach) ผลการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างยิ่งและรวดเร็ว ศักยภาพของประชาชนต้องได้รับการพัฒนาทักษะและวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ในสังคมแห่งชีวะคุณธรรม (Bio-Ethic) การศึกษาถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยน มุมมอง วิธีคิด รูปแบบการให้การศึกษาแนวใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนสู่ขีดจำกัดของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงเพื่อเป็นที่พึ่งของสังคมให้มีโอกาสเรียนรู้เต็มศักยภาพ โดยรูปแบบที่พัฒนาเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่สังคม 4.0
เทคนิคการสอน
1
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังบรรยาย หรืออาจมีโอกาสซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
           
2การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบ แนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และชื่นชมผลงานร่วมกัน
           
3การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4-8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ประสบการณ์ในประเด็นหรือปัญหาที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
          
4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น
         
5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ กระบวนการที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาท หรือแสดงบทบาทนั้นตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของผู้เรียนที่คิดว่าควรจะเป็น ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงออกทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
          
6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงบทบาทหรือสมมติว่าตนเองเป็นหรือแสร้งทำเป็นตัวเขาเองหรือบุคคลอื่นหรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง โดยจะต้องแสดงบทบาทการใช้ภาษา แสดงสีหน้า ท่าทางกับการเคลื่อนไหวประกอบการสนทนาตามบทละครที่แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว และผู้แสดงจะไม่นำบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของตนเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดผลเสียหายต่อการแสดงบทบาทนั้นๆ วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการที่จะเข้าใจในความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมของผู้อื่น และจะสามารถจดจำเรื่องราวนั้นได้นาน
           7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพความจริงมากที่สุด ทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ โดยมีการกำหนดบทบาท ข้อมูลและกติกาไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับประกอบกับวิจารณญาณของตนเองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์นั้นให้ดีที่สุด ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสถานการณ์จำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดี และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
          
8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกมที่มีกฎเกณฑ์กติกา เงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง เป็นการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมีการนำเนื้อหา ข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผลการเล่นเกมมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปผลการเรียนรู้
            
9การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียน "วิธีการเรียนรู้" อย่างเป็นขั้นตอน หรือเป็นกระบวนการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ และนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ
            
10. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฏิบัติเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน และสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มก็มีอิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
            
11. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament) คือ การเรียนรู้แบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่งคล้ายกันกับเทคนิค STAD ที่แบ่งผู้เรียนที่มีควาสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกันในเกมการเรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ทำการทดสอบความรู้โดยการใช้เกมการแข่งขัน คะแนนที่ได้จากการแข่งขันของสมาชิกแต่ละคนในลักษณะการแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่น นำเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของทีมผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่น ให้รางวัล คำชมเชย เป็นต้น ดังนั้นสมาชิกกลุ่มจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม
             
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการต่อภาพ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะให้เรียนรู้ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าคนละหัวข้อ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้ศึกษาจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันก็จะทำการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน จากนั้นผู้เรียนแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอธิบายความรู้ เนื้อหาสาระที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาสาระครบทุกหัวข้อย่อยและเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระทั้งเรื่อง
             
13. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration) คือ การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน
             
14. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline) คือ การเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีการนำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกัน เพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่อง (Theme) เดียวกัน โดยผูกเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) เรื่องแต่ละตอนจะต่อเนื่องและมีลำดับเหตุการณ์ (Sequence) หรือเรียกว่า เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic line) และใช้คำถามหลัก (Key questions) เป็นตัวนำไปสู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม (Activity) อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง ได้ลงมือปฏิบัติจริง เน้นทักษะการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจ กระบวนการกลุ่มตลอดจนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline จึงเป็นการบูรณาการเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน
             
15. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
คือ กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ (2553) รวบรวม 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยแบ่งออกเป็นนวัตกรรมต่างๆ 11 นวัตกรรม ดังนี้

1. นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้

1.1 การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)

1.2 การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)

1.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)

1.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์

1.5 การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)

1.6 การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)

1.7 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของSternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)

1.8 การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)

1.9 การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)

1.10 การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)

1.11 การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น

1.12 การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน

1.13 การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์

2. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา

2.1 การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ

2.2 การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา

2.3 การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ

2.4การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)

3. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม

3.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)

3.2 การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)

3.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

3.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)

3.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC

3.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD

3.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI

3.8 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)

3.9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)

3.10 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)

3.11 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ

3.12 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)

              3.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)

3.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)

4. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์

4.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์

4.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)

4.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)

4.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)

4.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping

4.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)

5. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา

5.1 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)

5.2 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา

5.3 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา

5.4 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)

5.5 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA

6. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ

6.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)

6.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)

6.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)

6.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)

6.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)

6.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)

6.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)

6.8 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)

6.9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)

6.10 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model : PCLM)

6.11 การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)

6.12 การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)

6.13 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)

7นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาสมองและการคิด

7.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวนหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)

7.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)

7.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT

7.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)

7.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)

8นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

8.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)

8.2 การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)

8.3 การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS

9นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ

9.1 การจัดการเรียนรู้โดยฝช้กิจกรรมนันทนาการ

9.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)

9.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง

9.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม

9.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)

9.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ

10นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์

10.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

10.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)

10.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส

10.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

10.5 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)

10.6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน

10.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ

11นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์

11.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

11.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)

11.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)

11.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

 

            Mindmeister (2561):  รวบรวมวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ 7 วิธีดังนี้

1.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  ( Problem-Based Learning )

 2.การจัดการเรียนรู้แบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer)

 3.การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์กลางเรียน (Learning Center)

4.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrating Method)

5.การจัดการเรียนรู้แบบถามตอบ (Ask and Question Model)

6.การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The use of Community Activities)

7.การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Laboratory Method)

            ดร.วราภรณ์ (2555)รวบรวมวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ 8 วิธีดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)

2.การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Group)

3. การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ (Talents Unlimited)

4. การจัดการเรียนรู้แบบหน่วย (Unit Teaching Method)

 5. การจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ(Role Playing)

 6. การจัดการเรียนรู้โดยเรียนจากของเล่น (Learning from Toy)

7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)

8. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)

ที่มา
ดร.วิทยา พัฒนเมธาดา.(2560). http://www.kansuksa.com/8/.[online]. การจัดกาเรียนรู้.
               เข้าถึง
เมื่อวันที่  21  กรกฎาคม  2561

mooBo.(2557). https://blog.eduzones.com/moobo/132517.[online].เทคนิคการสอน.
                เข้าถึง
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม  2561            
ทิศนา แขมมณี.
  (2553).  ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวน

                 การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12.  กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (31 - 33).
                 กรุงเทพฯ
แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

Mindmeister. (2561). https://www.mindmeister.com/1024461638/problem-based-learning
                . [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.

ดร.วราภรณ์. (2555). http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 24
                  กรกฎาคม
 2561.





แผนการจัดการเรียนรู้ที่

                                                                              แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสต...